วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปหลักสูตรแกนกลาง 51

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕0 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕
อาศัยอำนาจตามความมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีมติเห็นชอบให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
โรงเรียนต้นแบบ
1.ปีการศึกษา 2552 ให้ใช้หลักสูตร ในชั้น ป.1-6 และ ม.1 และ 4
2. .ปีการศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสูตร ในชั้น ป.1-6 และ ม.1,ม.2 และ 4,ม.5
3. .ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไปใช้ครบทุกชั้นเรียน
โรงเรียนทั่วไป
1.ปีการศึกษา 2553 ให้ใช้หลักสูตร ในชั้น ป.1-6 และ ม.1 และ 4
2. .ปีการศึกษา 2554 ให้ใช้หลักสูตร ในชั้น ป.1-6 และ ม.1,ม.2 และ 4,ม.5
3. .ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไปใช้ครบทุกชั้นเรียน
หลักการมี 6 ข้อ จุดหมายมี 5 ข้อ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน มี 5 ประการดังนี้
1.ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสมารถในการคิด 3.ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก มี 8 ข้อ
มาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่า 1.ต้องการอะไร 2.ต้องสอนอะไร 3.จะสอนอย่างไร 4.ประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายใน และการประเมินคุณภาพภายนอก รวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่ และการทดสอบระดับชาติ
ตัวชี้วัด 1.ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ(ป.1-ม.3) 2. 1.ตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-ม.6)
โครงสร้างเวลาเรียน รวมเวลาเรียนทั้งหมด
1. ระดับประถมศึกษา ไม่เกิน 1,000 ชม./ปี จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน 5 ชม.
2.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่เกิน 1,200 ชม./ปีจัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนวันละไม่เกิน 6 ชม.
3.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ไม่น้อยกว่า 3,600 ชม.จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชม. ใช้เกณฑ์ 40 ชม./ภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา 1 หน่วยกิจ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. ประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120 ชม.
2 และมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 360 ชม. นั้นเป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน และกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้
- ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) รวม 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) รวม 3 ปี จำนวน 45 ชั่วโมง
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1.ประเมินระดับชั้นเรียน อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ ดำเนินการเป็นปกติ เช่น ซักถาม การบ้าน ชิ้นงาน แฟ้ม
2.ประเมินระดับสถานศึกษา ตรวจสอบผลการเรียนเป็นรายปี/ภาค ประเมิน เช่น อ่าน คิด วิเคราะห์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ว่าส่งผลต่อการเรียนรู้ตามเป้าหมายหรือไม่ เปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับชาติ และระดับเขต
3.การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
4.การประเมินระดับชาติ ให้ ป.3 ,ป.6 ,ม.3,ม.6 เข้ารับการประเมิน ผลการประเมินใช้เป็นข้อมูลในการเทียบเคียงคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆเพื่อวางแผนยกระดับการศึกษา