ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional leadership)
นำแบบแลกเปลี่ยน คือ การใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตาม โดยที่ผู้นำยอมรับความต้องการของผู้ตามด้วยการให้วัตถุสิ่งของมีค่าตามที่ต้องการ แต่มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยนให้ผู้ตามต้องทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดหรือปฏิบัติหน้าที่ได้สำเร็จตามข้อตกลง ผู้ตามก็จะได้รางวัลตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน ขณะที่ผู้นำก็ได้ประโยชน์จากผลงานที่สำเร็จนั้น ผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจึงเน้นที่ทำให้การดำเนินการขององค์การในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ (efficiency) บังเกิดผลดี (excel) (เบอร์น Bum, 1978)
ลักษณะของผู้นำแบบแลกเปลี่ยนจะสังเกตเห็นได้ดังนี้ (Bass and Avolio, 1990 : 10)
1. รู้ว่าผู้ตามต้องการอะไรจากการทำงาน และพยายามให้ผู้ตามได้รับสิ่งที่ต้องการ ตราบเท่าที่เขายังทำงานได้ผล
2. แลกเปลี่ยนรางวัลและสัญญาว่าจะให้รางวัลถ้ามีความมานะพยายามในการทำงาน
3. ตอบสนองต่อความต้องการและความปรารถนาของผู้ตามตราบเท่าที่ผู้ตามยังคงทำงานได้สำเร็จ
r องค์ประกอบที่สำคัญของผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Transactional leadership) ที่ทำให้มีอิทธิพลต่อผู้ตามได้แก่
1. การให้รางวัลตามสถานการณ์ (Contingent Reward : CR) เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามซึ่งเน้นการแลกเปลี่ยนนั่นคือผู้นำให้รางวัลที่เหมาะสม เมื่อผู้ตามปฏิบัติงานตาม ข้อตกลงหรือได้ใช้ความพยายามสมควร
2. การบริหารแบบวางเฉย (Management-by-Exception) เป็นการบริหารงานที่ปล่อยให้เป็นไปตามสภาพเดิม (status quo) ผู้นำไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยว จะเข้าไปแทรกก็ต่อเมื่อมีอะไรเกิดผิดพลาดขึ้นหรือการทำงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเสริมแรงมักจะเป็นทางลบ คือตำหนิ ให้ข้อมูลย้อนกลับทางลบ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 2.1 การบริหารแบบวางเฉยเชิงรุก (Active Management-by-Exception : MBE-A) ผู้นำจะใช้วิธีการทำงานแบบกันไว้ดีกว่าแก้ ผู้นำจะคอยสังเกตผลการปฏิบัติงานของผู้ตาม และช่วยแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อป้องกัน หรือความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น
2.2 การบริหารแบบวางเฉยเชิงรับ (Passive Management-by-Exception : MBE-P) ผู้นำจะใช้วิธีการทำงานแบบเดิม และพยายามรักษาสถานภาพเดิม (status quo) ตราบเท่าที่วิธีการทำงานแบบเก่ายังใช้ได้ผล ถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ผู้นำจะเข้าไปแทรกแซงถ้าผลปฎิบัติงานไม่ได้มาตรฐาน หรือมีบางอย่างผิดพลาด (สุโขทัยธรรมาธิราช, บัณฑิตศึกษา (2540 : 59-61)
r บริบทการเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน
คอตเตอร์ (Kotter, 1990) มีความเห็นว่าภาวะผู้นำที่ดีมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ ต้องรู้จักเลือกใช้ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน จึงทำให้ภาวะผู้นำบริหารงานองค์การสำเร็จประกอบด้วยตัวแปร 2 ประการ ได้แก่
1. ระดับความสลับซับซ้อนขององค์การ (complexity of organization)
2. ระดับความจำเป็นที่ต้องการเปลี่ยนแปลง (amount of change needed)
นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี
ผู้จัดทำ สมาชิกกลุ่มที่ 13 Transactional leadership
1. นางทองดี นามสว่าง เลขที่ 14
2. นายเทพวิมล นามสว่าง เลขที่ 17
3. นายมติ ไตรยพันธ์ เลขที่ 41
4. นายสาคร กันทะพันธ์ เลขที่ 59
นักศึกษาปริญญาโทรุ่นที่ 3 สาขาบริหารการศึกษา ศูนย์ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี